วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย
ความหมายของสมรรถภาพทางกาย
สมรรถภาพทางกาย (Physical fitness) หมายถึง ภาพความสามารถของร่างกายในการประกอบการงานหรือ กิจกรรมทางกาย อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอย่างดีโดยไม่เหนื่อยเร็ว สมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการทางด้านร่างกาย ของมนุษย์ สมรรถภาพทางกายของบุคคลทั่วไปจะเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าหยุดออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงเมื่อใด
องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย
1.ความทนทานของระบบไหลเวียนเลือด (Cadiovascular Endurance)
2.ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength)
3.ความทนทานของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance)
4.กำลัง (Power)
5.ความเร็ว (Speed)
6.ความคล่องตัว (Agility)
7.ความอ่อนตัว (Flexibility)
8.การทรงตัว (Balance)
  
ประเภทของสมรรถภาพทางกาย
ประเภทของสมรรถภาพทางกายแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
       1.สมรรถภาพทางกลไก หมายถึง สมรรถภาพที่ประกอบด้วยความทนทานของระบบหายใจ และระบบไหลเวียนเลือด ความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหรือความอ่อนตัว และสัดส่วนของร่างกาย
 
      2. สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ  หมายถึง ความสามารถของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่เป็นความสามารถเชิงสรีรวิทยาของระบบที่จะช่วยป้องกันบุคคลจากโรคต่างๆ ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะของการขาดการออกกำลังกาย และถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้คนเรามีสุขภาพที่ดี 

      คุณค่าการมีสมรรถภาพทางกายที่ดี
สมรรถภาพทางกายจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อร่างกายได้มีการเคลื่อนไหวออกกำลังกายเป็นประจำ สม่ำเสมอ การที่บุคคลมีสมรรถภาพทางกายที่ดี มีคุณค่าและประโยชน์ดังนี้
1.ผู้มีสมรรถภาพทางกายดีจะเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี
2.ผู้มีสมรรถภาพทางกายที่ดีจะช่วยให้มีบุคลิกลักษณะสง่าผ่าเผย คล่องแคล่วกระฉับกระเฉง
3.ผู้มีสมรรถภาพทางกายที่ดีจะมีการทำงานประสานกันระหว่างระบบต่างๆ
4.ผู้มีสมรรถภาพทางกายที่ดีจะทำงานสำเร็จได้โดยใช้แรงน้อยกว่า เหนื่อยน้อยกว่า ทำให้ร่างกายสามารถนำกำลังไปใช้ในงานอื่นได้ต่อไป
         การทดสอบสมรรถภาพทางกลไก
ก้าวขาออกด้านข้าง ผู้ทดสอบยืนคร่อมเส้นกลาง เท้าทั้งสองห่างกันพอประมาณเมื่อได้รับสัญญาณเริ่มให้เริ่มก้าวเท้าออกด้านข้างคร่อมเส้นทางด้านขวา กลับมาคร่อมเส้นกลาง และก้าวไปคร่อมเส้นทางด้านซ้ายสลับไปสลับมาทั้งสามเส้น โดยทำให้เร็วที่สุดในเวลา 20 วินาที ให้ทำ ครั้ง เอาครั้งที่ดีที่สุดเป็นผลการทดสอบ บันทึกผลการทดสอบเป็นจำนวนครั้งที่ทำได้
ยืนกระโดดสูง
ยืนชิดกำแพง ยกแขนข้างหนึ่งเหยียดขึ้นด้านบนเหนือหัว ทำเครื่องหมายวัดให้สูงกว่าแขนประมาณ 20 เซนติเมตร แล้วกระโดดให้สุดที่สุด ทำอย่างนี้กลายๆครั้จะพบว่า ยิ่งกระโดดยิ่งสูงขึ้น
กล้ามเนื้อหลัง
ยืนบนเครื่องวัดจับคานแบบคว่ำมือ หลังทำมุม 30 องศากับแนวดิ่ง แขนและขาเหยียดตรง เกร็งกล้ามเนื้อหลังเหยียดตัวขึ้น บันทึกผลเป็นกิโล
แรงบีบมือ
การทดสอบโดยใช้มือลูบแม็กนีเซียมคาร์บอเนต(magnesium carbonate) เพื่อกันหล่อลื่น แล้วปรับเครื่องวัด จับเครื่องวัดให้เหมาะสม โดยใช้ข้อนิ้วที่ รับน้ำหนักของเครื่องวัด ยืนตรงปล่อยแขนห้อยข้างลำตัว พร้อมแขนออกห่างลำตัวเล็กน้อย บีบให้สุดแรงห้ามไม่ให้ส่วนใดของร่างกายโดนเครื่องวัด ทำอย่างนี้สองครั้ง 2ครั้ง และบันทึกผลเพื่อวัดการทดลองที่ดีที่สุด
ยืนก้มตัวลงข้างหน้า
ยืนให้เท้าห่างกนพอประมาณ ขาแขนยืดตรงและชิดกัน ก้มตัวไปข้างหน้าให้มากที่สุด ทำอย่างนี้ ครั้ง แล้วบันทึกและเลือกผลที่ดีที่สุด
ก้าวขึ้นม้า
ก้าวขึ้นและลงบันไดเป็น จังหวะ ใน 1นาที ต้องทำให้ได้ 30 ครั้งต่อกันเป็นเวลา 3 นาที พักหนึ่งนาที แล้วจับชีพจร ทำอย่างนี้ ครั้ง รวมชีพจรทั้ง 3ครั้ง
แล้วรวมชีพจร แล้วเอาไปหาร 9000 ตามสูตร

ค่าดรรชนี
9000 หารด้วยผลของชีพจร
(และชายให้บันไดสูงประมาณ 40ซม.หญิงและเด็กใช้ 35 ซม.)
สมรรถภาพร่างกายของนักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป ระดับมัธยมศึกษา ชาย

             ระดับ
รายการ
12     3    45
ก้าวออกด้านขางน้อยกว่า31ครั้ง32-3536-4142-46มากกว่า47 ครั้ง
กระโดดสูงน้อยกว่า32ซม.33-4243-5354-63มากกว่า64 ชม.
กล้ามเนื้อหลังน้อยกว่า71กก.72-107108-143144-147มากกว่า178 กก.
แรงบีบมือน้อยกว่า23กก.24-3435-4344-54มากกว่า55 กก.
นอนคว่ำ แอ่นตัวน้อยกว่า36กก.37-4647-5657-66มากกว่า67 ชม.
ยืนก้มตัวลงข้างหน้าน้อยกว่า4ซม.5-1112-1819-24มากกว่า25 ชม.
ก้าวขึ้นม้าน้อยกว่า41.841.9-56.556.6-71.371.4-85.9มากกว่า86.0

ระดับความสามารถของแต่ละอายุ ชาย
อายุ
12 ปี
20 ขึ้นไป
19-18
17-14
13-11
10 ลงไป
13 ปี
23 ขึ้นไป
22-20
19-16
15-13
12 ลงไป
14 ปี
24 ขึ้นไป
23-21
20-17
16-14
13 ลงไป
15 ปี
27 ขึ้นไป
26-23
22-19
18-16
15 ลงไป
16 ปี
27 ขึ้นไป
26-24
23-20
19-17
16 ลงไป
17 ปี
29 ขึ้นไป
28-26
25-22
21-19
18 ลงไป
18 ปี
29 ขึ้นไป
28-26
25-22
21-20
19 ลงไป
ระดับมัธยมศึกษา หญิง
รายการ
1
2
3
4
5
ก้าวออกด้านข้าง
น้อยกว่า23 ครั้ง
24-29
30-35
36-40
มากกว่า41ครั้ง
ยืนกระโดด
น้อยกว่า24 ชม.
25-30
31-37
38-43
มากกว่า 44ชม.
กล้ามเนื้อหลัง
น้อยกว่า45 กก.
46-66
67-88
89-109
มากกว่า110 กก.
แรงบีบมือ
น้อยกว่า16 กก.
17-23
24-30
31-37
มากกว่า 38กก.
นอนคว่ำ แอ่นตัว
น้อยกว่า37ชม.
38-46
47-57
58-66
มากกว่า67ชม.
ยืนก้มหน้าลงข้างหน้า
น้อยกว่า 5ชม.
6-11
12-18
19-23
มากกว่า 24ชม.
ก้าวขึ้นม้า
น้อยกว่า36.6
36.7-50.6
50.7-64.8
64.9-78.8
มากกว่า38.9
ระดับความสามารถของแต่ละอายุ หญิง
อายุ
12 ปี
25 ขึ้นไป
24-22
21-18
17-15
14 ลงไป
13 ปี
26 ขึ้นไป
25-23
22-19
18-16
15 ลงไป
14 ปี
27 ขึ้นไป
26-24
23-20
19-17
16 ลงไป
15 ปี
28 ขึ้นไป
27-25
24-21
20-18
17 ลงไป
ตัวอย่างสมรรถภาพของ ก(ชาย 15 ปี)
รายการทดสอบ
สถิติ
คะแนน
ก้าวออกด้านข้าง
43 ครั้ง
4
ยืนกระโดดสูง
64 ชม.
5
กล้ามเนื้อหลัง
148 กก.
5
แรงบีบมือ
56 กก.
5
ก้าวขึ้นม้า
70.9 ครั้ง
3
นอนคว่ำ แอ่นตัว
42 ชม.
2
ยืนก้มลงข้างหน้า
15 ชม.
3
รวม

27
ระดับความสามารถ


ข้อควรคำนึงในการสร้างเสริมสรรถภาพทางกาย
การสร้างเสริมสรรถภาพทางกายโดยใช้กิจกรรมออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีบุคคิลภาพที่ดีขึ้น
1.     อายุ วัยต่างๆจะมีความเหมาะสมกับกานออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาไม่เหมือนกัน การเลือกกิจกรรมจึงแตกต่างกันในแต่ละวัย
2.     เพศ สมรรถภาพทางกายของหญิงและชายย่อมมีความแตกต่างกัน
3.     สภาพร่างกาย จิตใจ และ พรสวรรค์ เป็นเรื่องของตัวบุคคล ซึ่งเป็นผลมาจากกรรมพันธุ์และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมขนาดรูปร่าง ลักษณะทางกาย
4.     อาหาร มีผลต่อการสร้างเสริมสรรถภาพทางกาย
5.     ภูมิอากาศ มีอิทธิพลต่อการสร้างเสริมสรรถภาพทางกายมาก ความร้อนทำให้ความอดทนลดลง เพราะทำให้การระบายความร้อนที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อทำได้ยากขึ้น ดังนั้นกลางวันเหมาะสำหรับการฝึกความอดทน
6.     เครื่องแต่งกาย ลักษณะของเสื้อผ้า เช่น แขนสั้น แขนยาว เนื้อผ้า สีของเสื้อผ้า จะมีผลกระทบต่อการออกกำลังการของในแง่ของความคล่องตัว การระบายความร้อน
7.     แอลกอฮอล์ มีผลต่อสรรถภาพโดยตรง แอลกอฮอล์ที่สะสมอยู่ในเลือดจะกระตุ้นให้ส่วนประสาทส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมการเคลื่อนไหว การมองเห็นด้อยประสิทธิภายลดลง
8.     บุหรี่ ในควันบุหรี่มีสารที่เป็นพิษต่อร่างกาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น