หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 สัมพันธ์ดี มีไมตรีเลี่ยงความขัดแย้ง
ปัจจัยในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล
ปัจจัยที่จะสร้างให้คนมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ดังนี้
1.บุคลิกภาพที่ดี หรือนิสัยเฉพาะส่วนตัวที่ดีของบุคคลที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นจุดแรกก็คือ รูปร่าง หน้าตา ลักษณะท่าทาง การแสดงออก และการแต่งกายที่ดูดีมีสง่า มีส่วนดึงดูดความสนใจให้คนอยากเป็นมิตร อยากสนทนาพูดคุยด้วย
2.กิริยาท่าทาง หรือการแสดงออกต่อสายตาของบุคคลอื่น ทำให้คนที่พบเห็นชอบหรือไม่ชอบก็ได้
3.การพูด การพูดที่ดี มีศิลปะในการพูด ใช้คำพูดที่สุภาพ พูดให้เกียกับคนที่เราพูดด้วย
4.สายตา สาตตาจะบ่งบอกถึงความรู้สึกนึกคิด คนที่คิดดีสายตาจะแสดงออกถึงความเป็นมิตร ไม่เสแสร้ง
5.จิตใจดี มองโลกในแง่ดีมีความจริงใจให้แก่เพื่อน การแสดงออกต่อบุคคลอื่นจะเป็นเรื่องดีๆเป็นส่วนใหญ่ และเสมอต้นเสมอปลาย
6.สติปัญญาดีและไหวพริบดี จะช่วยให้รู้จักสังเกตและพิจารณาคนที่คุยด้วยพูดสนทนาด้วยว่าเป็นคนอย่างไร จะช่วยให้การสร้างสัมพันธภาพง่ายขึ้น
ความสำคัญในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล
มีความสำคัญ ดังนี้
1.ทำให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น
2.มีเพื่อนและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
3.มีความรู้สึกที่ดีต่อคนอื่น
4.ได้รับการร่วมมือที่ดีในการติดต่อประสานงานหรือการทำงาน
5.มีศรัทราและมีกำลังใจในการดำรงชีวิต
6.เกิดความสามัคคีและให้ความร่วมมือในส่วนรวมมากขึ้น
7.เกิดการช่วยเหลือในสังคมมากขึ้น
การสร้างและการรักษาสัมพันธภาพในครอบครัว
ครอบครัวซึ่งประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก หรือบางครอบครัวที่เป็นครอบครัวใหญ่อาจรวม ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ ป้า น้า อา ที่รวมกันอย่างมีความสุข และมีหลักการสร้างสัมพันธภาพที่ดีดังนี้
1.ทุกคนต้องปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของครอบครัวสม่ำเสมอ
2.เคารพเชื่อฟังและให้เกียติซึ่งกันและกัน เด็กต้องเคารพผู้ใหญ่
3.ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ
4.รักและซื่อสัตย์ต่อครอบครัว
5.มีความเอื้ออาทรต่อกันละกันภายในครอบครัว
การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อน
เพื่อนคือคนที่ชอบพอรักใคร่กัน คนที่คบกันเป็นเพื่อนส่วนใหญ่จะมีความชอบ ความคิดเห็นตรงกัน และพฤติกรรมเหมือนๆหรือใกล้เคียงกัน หลักการสร้างภาพระหว่างเพื่อนคือ
1.รักและช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งในเวลาปกติและในเวลาที่เดือดร้อน
2.สามารถปรับทุกข์และร่วมกันแก้ปัญหาให้กับเพื่อนได้
3.ยอมรับฟังความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะที่ดีต่อกัน
4.สนใจและเอาใจใส่ความรู้สึกของเพื่อนเสมอ
5.ไม่เห็นแก่ตัวและไม่เอาเปรียบเพื่อน
การสร้างและการรักษาสัมพันธภาพในสังคม
การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข จะเกิดขึ้นได้โดยมีหลักปฏิบัติ ดังนี้
1.พัฒนาบุคลิกภาพให้ผู้พบเห็นเกิดความชื่นชมและประทับใจด้วยการพูดกิริยาท่าทางต่างๆและการวางตัวอย่างเหมาะสม
2.การแสดงออกด้วยความใจกว้างและใจดี
3.การให้ความช่วยเหลือเอาใจใส่ในกิจกรรมละงานส่วนรวม
4.ให้คำแนะนำและเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
5.ร่วมกันแก้ปัญหาในสังคมให้ดีขึ้น
ทักษะที่จำเป็นในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล
ทักษะที่จำเป็นในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคลที่น่าสนใจและควรศึกษามีดังนี้
-ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการสื่อสารเพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน เกิดการยอมรับและความเข้าใจดีต่อกันนั้นมีหลายวิธี คือ
1.การใช้คำพูด การพูดที่ดีหรือเรียกว่ามีศิลปะในการพูด ต้องฝึกการพูดและการแสดงออกต้องเหมาะสม
2.ทักษะการฟัง การเป็นผู้ฟังที่ดีสามารถสร้างความประทับใจให้กันผู้พูดหรือผู้ที่สนทนาด้วย ต้องตั้งใจฟังจับใจความเนื้อหาและทำความเข้าใจในเรื่องที่ผู้พูดกำลังพูดให้ได้ คิดตามไปกับเรื่องที่กำลังฟังอยู่ ไม่ทรอดแทรกขัดจังหวะ ไม่แสดงอารมณ์ว่าไม่พอใจ สนใจผู้พูดตลอดเวลา
-ทักษะการต่อรองเพื่อประนีประนอม
การต่อรอง หมายถึง การทำให้ลดลงเช่นของแพงมีการต่อรองให้ราคาลดลง ส่วนการประนีประนอมก็คือการผ่อนหนักให้เป็นเบาให้แก่กันหรือปรองดองกัน ดังนั้นทักษะการต่อรองเพื่อการประนีประนอมจึงหมายถึงทักษะที่ลดความรุนแรงหรือผ่อนหนักให้เป็นเบา สร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับหลายคู่กรณีทั้งหลาย โดยการใช้ทักษะดังนี้
1.ควบคุมอารมณ์ ไม่ใจร้อน มีเหตุผล
2.รอบคอบ ความรอบคอบจะสามารถคิดหาเห็นผลในการต่อรองได้ดี
3.ใช้เหตุผล เหตุผลจะทำให้การต่อรองดีขึ้น
4.มีการยืดหยุ่น การรู้จักผ่อนหนักเป็นเบา คล้อยตามบ้าง
5.สุภาพอ่อนโยน
คำพูดที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง
|
คำพูดที่ประนีประนอม
|
1.เธอไม่ต้องมาชวนเราไปทำเรื่องไร้สาระเลยนะ เราไม่มีเวลาว่างมากเหมือนเธอ
|
1.เราอยากไปเดินซื้อของกับเธอนะ แต่เรายังทำการบ้านไม่เสร็จเลย ถ้าทำเสร็จก่อนที่เธอจะไป เราจะไปด้วยแล้วกันนะ
|
2.เราว่ามานีพูดถูกที่เธอไม่มีเหตุผลเลย พูดอย่างนี้ไม่มีใครอยากพูดกับเธอหรอก
|
2.เราว่าที่เธอพูดก็มีส่วนถูก แต่มองอีกด้านหนึ่ง ที่มานีพูดมาก็มีเหตุผลน่ารับฟังเหมือนกันนะ เราควรพิจารณาให้รอบคอบ เพื่อจะตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมเธอว่าดีไหม
|
3.เธอเอาแต่ใจเกินไปแล้วนะ
|
3.เธอน่าจะฟังคนอื่นบ้างนะ
|
-ทักษะการเข้าสังคม
มนุษย์ย่อมมีสังคมของตนเอง เช่น วัยเด็กเด็กจะเป็นสังคมในครอบครัว โรงเรียนหรือเพื่อนบ้านเมื่อโตขึ้นสังคมจะกว้างขึ้นมีสังคมกับคนหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็จะแตกต่างกันไป ทักษะในการเข้าสังคมคือ
1.ทักษะในการพูด ต้องมีการเตรียมหรือศึกษากลุ่มสังคมที่จะต้องไปพบปะสังสรรค์เพื่อจะได้พูดคุยให้ตรงความสนใจของผู้ฟัง
2.ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ขักแน้งหรือก่อกวน
3.มีความสุภาพ รู้กาลเทศะในการพูดคุย ในการวางตัว และการแต่งกายเหมาะสม
ความขัดแย้ง
ความขัดแย้ง หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำที่ไม่ลงรอย ขัดขืนหรือต่อต้านกัน ทั้งภายในตนเอง และระหว่างกลุ่มบุคคล ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจะตัดสินใจหรือหาข้อยุติที่เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้อันเป็นผลทำให้เกินการแข่งขัน หรือทำลายกัน
ปัญหาความขัดแย้ง
ปัญหาความขัดแย้งในกลุ่มนักเรียนหรือเยาวชนมีหลายประการ ดังนี้
1.การทะเลาะวิวาทภายในสถาบัน อาจเกิดจากบุคคล 2 คนที่ทำร้ายชกต่อย ตีกัน ปัญหาการรังแกกันในโรงเรียน ที่พบบ่อยคือการทำร้ายจิตใจกันด้วยวาจา การล้อเลียนกัน การที่รุ่นพี่ครอบงำบังคับรุ่นน้องและการคุกคามทางเพศ
2.การทะเลาะวิวาทภายนอกสถาบัน ส่วนใหญ่เป็นความรุนแรงที่เกิดจากความรุนแรงที่เกิดจากความไม่พอใจกันระหว่างบุคคลกับบุคคล หรืออาจขยายเป็นระหว่างกลุ่มมักเกิดจากนักเรียน
3.การถูกทำร้ายทางเพศ วัยรุ่นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้หญิงที่ถูกทำร้ายทางเพศ โดยมากมักเกิดจากความขัดแย้ง ทำให้เกิดความโกรธ อยากแก้แค้นกัน อาจใช้วิธีหลอกล่อและบังคับบางรายถูกทำร้ายทางเพศติดต่อกันหลายปี กว่าที่คนใกล้ชิดหรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจะรู้เรื่องหรือผู้ถูกทำร้ายทางเพศยอมเปิดเผยเรื่องราว
สาเหตุของความขัดแย้ง
สาเหตุของความขัดแย้งในกลุ่มนักเรียนหรือเยาวชน มีดังนี้
1.เกิดจากความไม่พอใจจนทำให้มีความขัดแย้งกันในเรื่องต่างๆ จนเกิดอารมณ์เป็นเหตุให้ใช่ความรุนแรงต่อกัน มักเกิดกับกลุ่มเพื่อนที่ไม่ค่อยสนิทกัน อีกฝ่ายหนึ่งอาจไม่ทราบว่าตนเองถูกอีกฝ่ายไม่พอใจ
2.หยอกล้อและแกล้งกัน อาจจะเล่นแรงกันเกินไปหรืออีกฝ่ายไม่มีอารมณ์
3.การหึงหวง วัยรุ่นส่วนใหญ่ทั้งเพศชายและเพศหญิงเริ่มสนใจเพศตรงข้าม และบางคนอาจจะมีคู่รัก การชอบคนที่มีคู่รักอยู่แล้วจึงทำให้เกิดการหึงหวง
4.มีความผิดปกติทางจิตใจ คือเป็นคนก้าวร้าว ชอบการกระทำที่รุนแรงขาดความเมตตาปรานี
5.มาจากครอบครัวแต่ความขัดแย้ง พ่อแม่ทะเลาะกัน ทุบตีและด่าว่าเป็นประจำลูกจะซึมซับพฤติกรรมที่รุนแรงเกิดการเรียนแบบมีอารมณ์ร้อนและชอบใช้ความรุนแรง
ผลกระทบของความขัดแย้ง
ความขัดแย้งระหว่างนักเรียนหรือเยาวชนในชุมชนเมื่อเกิดขึ้นจะทำให้เกิดผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ดังนี้
1.ทำให้โกรธเคือง เกิดความบาดหมางกันและเลิกคบหากัน ทำให้เสียเพื่อน
2.ทำให้เกิดการทำร้ายร่างกายกัน จนทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ
3.ทำให้ครอบครัวไม่มีความสุข ผู้ปกครองเดือดร้อน มีความทุกข์ใจ
4. สภาพจิตใจถูกทำร้ายและบอบช้ำมาก เกิดความคับแค้นใจ
5.เสียการเรียน เสียเวลา และอาจเสียอนาคต
แนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้ง
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาควรปฏิบัติ ดังนี้
1.ฝึกตนเองให้สามารถรู้จักแก้ปัญหาด้วยการใช้ความคิด มีเหตุผล
2.เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสัมพันธภาพที่ดีในกลุ่นนักเรียน
3.เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม
4.เชื่อฟังคำสั่งสอนละคำแนะนำของบิดา มารดา และครูอาจารย์
5.แจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันทีเมื่อพบเหตุการณ์ที่จะทำให้เป็นปัญหาทำให้เกิดความรุนแรง
แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งในโรงเรียนอย่างสันติ มีดังนี้
1.ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาและยอมรับฟังเหตุผล
2.รู้จักให้อภัยกัน
3.ไม่ใช้อารมณ์ตัดสินปัญหา
4.ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกันไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงทางด้านร่างกายและจิตใจ
5.รู้จักการข่มใจ อดทนอดกลั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น